ประวัติ


สถานะเดิม
เดิมชื่อ นายหลาย นามสกุล กิมยงค์
เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2492 ปีฉลู
บิดาชื่อ นายปาน นาสกุล กิมยงค์
มารดาชื่อ นางสำเนียง กิมยงค์
มีพี่น้องทั้งหมด 13 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 13
    1.นายดำ กิมยงค์
    2.นายสำเนาว์ กิมยงค์
    3.นายเบิ้ม กิมยงค์
    4.นายไฝ กิมยงค์
    5.นางสำอางค์ กิมยงค์
    6.นายโต กิมยงค์
    7.นายบุญส่ง กิมยงค์
    8.น.ส.แป๊ด กิมยงค์
    9.นายวิเชียร กิมยงค์
    10.นายขาว กิมยงค์
    11.นายเล็ก กิมยงค์
    12.น.ส.หนู กิมยงค์
    13.พระครูสมุห์หลาย
ท่านเป็นคนคลองด่าน บ้านท่านใครๆก็รู้จัก ทำอู่ขุดเรือ และทำประมงออกเรือไปหาปลา แม่ของท่านทุกเช้าจะเข้าป่าตัดแสม เย็นก็จะนำไปขาย หรือแลกกับข้าวสารของชาวนา

บรรพชา
    เมื่ออายุ 12 ปี ได้เริ่มบวชเป็นเณร ตามพี่ชายของท่าน เพราะตัวท่านเองนั้นก็ไม่อยากเรียนหนังสือแล้ว จึงตัดสินใจบวช เนื่องจากพี่ชายของท่านกำลังจะเกณฑ์ทหาร และไปขอน้ำมนต์ พระอาจารย์สมภาร วัดปากลัด เพื่อนำมารดจะได้จับได้ใบดำ พอจับได้ใบดำ ตัวพี่ชายท่านจึงต้องบวชและเพื่อเป็นการตอบแทนบูญคุณ มีมากลางดึกคืนหนึ่งท่านนอนกับแม่ ท่านจึงถามแม่ว่า ” แม่ครับถ้าจะบวชกับพี่ได้ไหม ” แม่จึงบอกว่า ” บวชเณรเป็นหางนาคได้บุญเยอะสองสามเท่า ” ในใจท่านก็คิดบวชก็ดีไม่ต้องเรียนหนังสือ เช้าจึงโกนหัว ชาวบ้านแถบนั้นต่างพูดกันว่า จะทนกันศักกี่วัน ท่านบวชเณร วันที่ 28 กรกฎาคม 2504 ที่วัดมงคลโคธาวาส โดยมีเจ้าอธิการ แป้น ปภากโร วัดโคธาราม เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการ บรรจง วรจิตตโต วัดคันลัด เป็นผู้ให้ศิล 10
    ชีวิตผกผันจนบวชเป็นพระและย้ายวัด บวชอยู่ได้ ประมาณ 3-4 เดือน จนออกพรรษา พี่ชายของท่านก็กำลังจะลาสึก จึงหาฤกษ์ลาสึก ตระเตรียมเสื้อผ้า ท่านหลายซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรก็ไปดูเสื้อผ้าเตรียมสึกเหมือนกัน เพราะคิดว่าทางนี้คงไม่ใช่ ทางของตน ต้องอ่านเรียนธรรมะ เช่นกัน จึงตัดสินใจจะสึก หาเสื้อผ้า หาเสื้อได้แต่หากางเกงไม่ได้ พี่ชายก็มาบอกว่า ให้เณรอยู่ต่อไม่ต้องสึกหรอก ให้อยู่รอรับกฐินต่อเลย ณ.ขณะนั้นท่านก็ไม่รู้ว่ากฐินคืออะไร รู้แต่ว่าได้บุญหนุนมาก อยู่ต่อมาเรื่อยๆ จนมาวันหนึ่ง สมภารท่านไม่อยู่ ท่านจึงไปปีนต้นมะพร้าว กับเณรอีกรูป เพื่อจะเอามะพร้าวน้ำหอม ขึ้นไปเจอตัวต่อต่อยหัวและมะพร้าวร่วงใส่หัว เห็นรังต่อบนต้น จึงคิดเอาไฟเผารัง เพื่อให้หมดสิ้นไป แต่ไฟที่เผาก็ลามไปติดยอดมะพร้าวจนลามไปทั้งต้น จึงกลัวความผิด ประจวบกับ ” ถวิล การาเกตุ ” มีข่าวมาบอกว่าอาจารย์จง มาบ้านให้นิมนต์เณรมาฉันท์ ข้าวต้ม ข้าวสวยที่บ้าน ฉันท์เสร็จอาจารย์จงเอ่ยปากชวนให้ไปอยู๋วัดคันลัดด้วยกันไหม อาจารย์เกิดนึกกลัวความผิดจะถูกทำโทษที่เผามะพร้าว จึงตบปากรับคำว่าไป นับแต่นั้น จึงย้ายมาอยู่ที่วัดคันลัด วันที่ 31 ธันวาคม 2504 เป็นสามเณรมา จึงถึงอุปสมบท เป็นภิกษุ ในปี 2513 เป็นสามเรณมา 10 ปีด้วยกัน

อุปสมบท
    เมื่อครั้งย้ายมาเป็นสามเณรที่วัดคันลัด เป็นเวลา 10 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทเป็ฯภิกษุ ในปี 2513 แต่ท่านกลับไปอุปสมบท ที่วัดมงคลโคธาวาส ทำพิธีบวชที่นั้นจนเสร็จสิ้น คือวันที่ 28 มีนาคม 2513 แล้วเสร็จจึงย้ายมาอยู่ที่วัดคันลัด วัดตามสังกัดเดิมจวบจนปัจจุบัน โดยมี
    พระศรีสมุทรคุณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ วัดกลางวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูมงคลสาธุวัตร ( ชื่น ธมมโชติ ) วัดมงคลโคธาวาส เป็นกรรมวาจาจารย์
    พระอธิการทองหล่อ พลภทโท ( พระครูสมุทรพัฒนโสภณ ) วัดคันลัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า ” สุวฑฒโน ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น